ทาสแมวช่วยด้วย! เมื่อแมวจรจัดตกเป็นผู้ประสบภัย Tokyo Olympic 2020

Tokyo Olympic 2020 เริ่มต้นขึ้นแล้ว แม้จะมีดราม่าสารพันรายวันจนไม่น่าแปลกใจถ้าจะได้ชื่อเล่นว่าโตเกียวโอลิมปิกกับกีฬาอาถรรพ์ โตเกียวโอลิมปิก

นอกจากดราม่าเรื่องชาวญี่ปุ่นที่ต่อต้านการจัดงาน การพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในหมู่บ้านนักกีฬาและผู้เกี่ยวข้องเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การถอนตัวหรือถูกปลดกลางอากาศของผู้รับผิดชอบหลายหน่วยงาน อาสาสมัครหลายคนยังฉีดวัคซีนไม่ครบ อาหารที่จัดให้ไม่เหมาะกับนักกีฬา ฯลฯ ยังมีผู้เดือดร้อนตัวจิ๋วอีกกลุ่มที่อยากขอความเห็นใจจากผู้จัดงาน Tokyo Olympic

นั่นคือ ‘น้องแมวจรจัด’ ผู้อยู่ใกล้สถานที่จัดงานต่างๆ โตเกียวโอลิมปิก

โตเกียวโอลิมปิก
โตเกียวโอลิมปิก

เรื่องเริ่มต้นจากการที่เราเห็นเพื่อนชาวญี่ปุ่นผู้เป็นทาสแมวแชร์แคมเปญร้องเรียน Tokyo Olympic ตอนแรกนึกว่าเพื่อนเชียร์ให้ยกเลิกงาน แต่ปรากฏว่าเธอเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่อนุญาตให้อาสาสมัครเข้าไปให้อาหารแมวจรจัดได้ตามปกติในย่าน Olympic Stadium เพราะช่วงเดือนมิถุนายน-กันยายน ทางการได้จำกัดการสัญจรของพาหนะต่างๆ ในโซนนี้ รวมไปถึงห้ามคนนอกที่ไม่ได้อยู่อาศัยในย่านนี้เข้ามาป้วนเปี้ยนด้วย เธอบอกว่าเหล่าแมวๆ อยู่อาศัยแถวนั้นมาตั้งนานแล้ว และเคยชินกับการที่อาสาสมัครกลุ่มนี้เข้าไปดูแลเรื่องอาหารการกินและสุขภาพต่างๆ อยู่ๆ พี่ๆ ก็หายไป 3 เดือน แมวจะงงและหิวมาก!

กลุ่ม ‘อาสาสมัครเพื่อแมวชุมชน 42825’ ผู้ริเริ่มแคมเปญนี้รวมตัวกันมาตั้งแต่ปี 2008 และจับมือกับเขตชินจูกุช่วยกันดูแลแมวจรจัดในชุมชนมาตั้งแต่ปี 2009 มีเจ้าหน้าที่รัฐหนุนหลังแบบนี้ดูเหมือนไม่น่าจะมีปัญหา แต่ปรากฏว่าเฉพาะช่วงโอลิมปิก ย่านนั้นกลายเป็นเขตปกครองพิเศษของ Japanese Olympic Committee (JOC) ที่ทางเขตชินจูกุก็ไม่มีอำนาจไปก้าวก่าย เดอะแก๊งเลยต้องเรียกร้องผ่านอินเทอร์เน็ตแทน 

ระหว่างรอคนลงชื่อ เรามาดูกันว่าปกติที่โตเกียวเขาจัดการกับปัญหาแมวจรจัดกันยังไงบ้าง

โตเกียวโอลิมปิก

จริงๆ แล้วโดยทั่วไปแต่ละเขตจะมีมาตรการดูแลน้องแมวจรจัดอยู่แล้ว แต่รายละเอียดอาจจะแตกต่างกันไปแล้วแต่นโยบายและงบ อย่างเขตชินจูกุที่ให้ความร่วมมือกับอาสาสมัครเป็นอย่างดีมองว่าถ้าปล่อยแมวไว้เฉยๆ อาจจะมีทาสแมวขาจรสงสารแมวและเอาข้าวมาให้กินบ้าง แต่เศษอาหารที่แมวกินเหลือจะกลายเป็นขยะตามถนนไปอีก ปัญหาเรื่องการขับถ่ายก็ไม่ได้รับการแก้ไข ยิ่งไม่ได้ทำหมันแมวจรยิ่งขยายสมาชิกครอบครัว อาจจะร้องเสียงดังหรือรบกวนชาวบ้านแถวนั้นที่ไม่ได้มีใจเอ็นดูเท่าไหร่นัก ซึ่งถ้ามีคนร้องเรียนให้เขตไปจับ พอจับมาแล้วไม่มีคนรับไปเลี้ยง สุดท้ายเราก็คงพอเดากันได้ว่าน้องต้องไปไหนต่อ 

ดังนั้นพออาสาสมัครติดต่อเขตไปว่าอยากเปลี่ยนบทบาทเจ้าเหมียวจรจัดที่คนมองว่าสร้างปัญหาให้กลายเป็นแมวของชุมชนที่อยู่ร่วมกับมนุษย์อย่างเป็นสุข ทางเขตเลยยินดีให้ความร่วมมือจัดสรรงบสนับสนุนการทำหมันและดูแลสุขภาพแมวทั้งหลาย ติดตั้งห้องน้ำแมวในพื้นที่สาธารณะ ทำความสะอาดเศษอาหาร ตั้งกฎห้ามวางอาหารทิ้งไว้เพื่อรักษาความสะอาด แถมยังทำใบปลิวและคู่มือแบบแบ๊วๆ ให้ความรู้เรื่องการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ รวมไปถึงวิธีให้อาหารแมวที่ถูกต้องและวิธีทำห้องน้ำแมวแบบง่ายๆ

มากไปกว่านั้น เพื่อจัดการปัญหาที่ต้นตอ เขตยังขอความร่วมมือจากผู้เลี้ยงแมวไม่ให้ทอดทิ้งน้อง ซึ่งจะเป็นการเพิ่มจำนวนแมวจรจัดให้ชุมชน (ถ้าทิ้งแล้วโดนจับได้ ต้องจ่ายค่าปรับ 1 ล้านเยน!) ใครจะทำหมันแมวเดี๋ยวเขตช่วยออกค่าทำหมันให้ส่วนหนึ่งด้วยเลย ส่วนค่าใช้จ่ายอื่นๆ นั้นได้รับบริจาคบ้างหรือเป็นรายได้จากการขายสินค้าเพื่อหาเงินดูแลแมวบ้าง ส่วนหน้าที่ลงแรงทำความสะอาดหรือให้อาหารอย่างเป็นระบบระเบียบก็เป็นของอาสาสมัครและคนในชุมชนที่มีจิตวิญญาณความเป็นทาสแมวอ่อนๆ นั่นเอง

คู่มือเลี้ยงแมวสำหรับทาสแมวเขตชินจูกุ

จริงๆ แล้วเราเขียนมาถึงตรงนี้ตั้งแต่ก่อนโตเกียวโอลิมปิกจะเริ่มต้นขึ้น สอบถามไปยังทางการตั้งแสนนานก็ไม่ได้รับคำตอบว่าตกลงชะตากรรมแมวจรจัดในช่วงโอลิมปิกจะเป็นยังไง ยิ่งมีดราม่าใหม่ๆ เกิดขึ้นทุกวันพร้อมจำนวนผู้เกี่ยวข้องที่ติดโควิด-19 มากขึ้นเรื่อยๆ ก็ทำใจไว้แล้วว่าเขาคงวุ่นกับงานหลักมากกว่าจะมาสนใจเรื่องนี้

แต่ก่อนจะส่งต้นฉบับ เราแอบกลับเข้าไปดูเว็บไซต์ของแคมเปญช่วยน้องแมวอีกครั้ง

เจ้าของแคมเปญเพิ่งมาอัพเดตว่าสุดท้ายแล้วรวมรายชื่อได้ประมาณ 12,500 คน และไปต่อรองได้สำเร็จแล้ว!

แม้เขาจะยังไม่ได้เขียนรายละเอียดอะไรมากนอกจากประโยคที่ว่า ‘ทุกอย่างกำลังมุ่งหน้าไปยังทิศทางที่ดี’ แต่การที่ผู้มีอำนาจตัดสินใจให้ความสำคัญกับมวลชนกลุ่มเล็กๆ ที่รวมตัวกันช่วยเหลือสิ่งมีชีวิตตัวจ้อยบนท้องถนนทำให้ใจฟูขึ้นมานิดหน่อยในช่วงที่โอลิมปิกก็ต้องเชียร์ คลัสเตอร์เดลตาก็ต้องกลัว นี่จึงเป็นครั้งแรกที่ดีใจทั้งๆ ที่เราต้องแก้บทความใหม่

พลังความมุ่งมั่นของทาสแมวก็อยู่ในระดับเดียวกับโอลิมปิกสินะ นี่แหละ united by emotion ตรงกับ motto ของ Tokyo Olympic 2020 ที่สุดเลย

#StrongerTogether ทั้งคนและแมว

Tokyo Olympic 2020 เริ่มต้นขึ้นแล้ว แม้จะมีดราม่าสารพันรายวันจนไม่น่าแปลกใจถ้าจะได้ชื่อเล่นว่าโตเกียวโอลิมปิกกับกีฬาอาถรรพ์
นอกจากดราม่าเรื่องชาวญี่ปุ่นที่ต่อต้านการจัดงาน การพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในหมู่บ้านนักกีฬาและผู้เกี่ยวข้องเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การถอนตัวหรือถูกปลดกลางอากาศของผู้รับผิดชอบหลายหน่วยงาน อาสาสมัครหลายคนยังฉีดวัคซีนไม่ครบ อาหารที่จัดให้ไม่เหมาะกับนักกีฬา ฯลฯ ยังมีผู้เดือดร้อนตัวจิ๋วอีกกลุ่มที่อยากขอความเห็นใจจากผู้จัดงาน Tokyo Olympic นั่นคือ ‘น้องแมวจรจัด’ ผู้อยู่ใกล้สถานที่จัดงานต่างๆ
เรื่องเริ่มต้นจากการที่เราเห็นเพื่อนชาวญี่ปุ่นผู้เป็นทาสแมวแชร์แคมเปญร้องเรียน Tokyo Olympic ตอนแรกนึกว่าเพื่อนเชียร์ให้ยกเลิกงาน แต่ปรากฏว่าเธอเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่อนุญาตให้อาสาสมัครเข้าไปให้อาหารแมวจรจัดได้ตามปกติในย่าน Olympic Stadium เพราะช่วงเดือนมิถุนายน-กันยายน ทางการได้จำกัดการสัญจรของพาหนะต่างๆ ในโซนนี้ รวมไปถึงห้ามคนนอกที่ไม่ได้อยู่อาศัยในย่านนี้เข้ามาป้วนเปี้ยนด้วย เธอบอกว่าเหล่าแมวๆ อยู่อาศัยแถวนั้นมาตั้งนานแล้ว และเคยชินกับการที่อาสาสมัครกลุ่มนี้เข้าไปดูแลเรื่องอาหารการกินและสุขภาพต่างๆ อยู่ๆ พี่ๆ ก็หายไป 3 เดือน แมวจะงงและหิวมาก!
กลุ่ม ‘อาสาสมัครเพื่อแมวชุมชน 42825’ ผู้ริเริ่มแคมเปญนี้รวมตัวกันมาตั้งแต่ปี 2008 และจับมือกับเขตชินจูกุช่วยกันดูแลแมวจรจัดในชุมชนมาตั้งแต่ปี 2009 มีเจ้าหน้าที่รัฐหนุนหลังแบบนี้ดูเหมือนไม่น่าจะมีปัญหา แต่ปรากฏว่าเฉพาะช่วงโอลิมปิก ย่านนั้นกลายเป็นเขตปกครองพิเศษของ Japanese Olympic Committee (JOC) ที่ทางเขตชินจูกุก็ไม่มีอำนาจไปก้าวก่าย เดอะแก๊งเลยต้องเรียกร้องผ่านอินเทอร์เน็ตแทน ระหว่างรอคนลงชื่อ เรามาดูกันว่าปกติที่โตเกียวเขาจัดการกับปัญหาแมวจรจัดกันยังไงบ้าง
จริงๆ แล้วโดยทั่วไปแต่ละเขตจะมีมาตรการดูแลน้องแมวจรจัดอยู่แล้ว แต่รายละเอียดอาจจะแตกต่างกันไปแล้วแต่นโยบายและงบ อย่างเขตชินจูกุที่ให้ความร่วมมือกับอาสาสมัครเป็นอย่างดีมองว่าถ้าปล่อยแมวไว้เฉยๆ อาจจะมีทาสแมวขาจรสงสารแมวและเอาข้าวมาให้กินบ้าง แต่เศษอาหารที่แมวกินเหลือจะกลายเป็นขยะตามถนนไปอีก ปัญหาเรื่องการขับถ่ายก็ไม่ได้รับการแก้ไข ยิ่งไม่ได้ทำหมันแมวจรยิ่งขยายสมาชิกครอบครัว อาจจะร้องเสียงดังหรือรบกวนชาวบ้านแถวนั้นที่ไม่ได้มีใจเอ็นดูเท่าไหร่นัก ซึ่งถ้ามีคนร้องเรียนให้เขตไปจับ พอจับมาแล้วไม่มีคนรับไปเลี้ยง สุดท้ายเราก็คงพอเดากันได้ว่าน้องต้องไปไหนต่อ
ดังนั้นพออาสาสมัครติดต่อเขตไปว่าอยากเปลี่ยนบทบาทเจ้าเหมียวจรจัดที่คนมองว่าสร้างปัญหาให้กลายเป็นแมวของชุมชนที่อยู่ร่วมกับมนุษย์อย่างเป็นสุข ทางเขตเลยยินดีให้ความร่วมมือจัดสรรงบสนับสนุนการทำหมันและดูแลสุขภาพแมวทั้งหลาย ติดตั้งห้องน้ำแมวในพื้นที่สาธารณะ ทำความสะอาดเศษอาหาร ตั้งกฎห้ามวางอาหารทิ้งไว้เพื่อรักษาความสะอาด แถมยังทำใบปลิวและคู่มือแบบแบ๊วๆ ให้ความรู้เรื่องการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ รวมไปถึงวิธีให้อาหารแมวที่ถูกต้องและวิธีทำห้องน้ำแมวแบบง่ายๆ
โตเกียวโอลิมปิก 2020
มากไปกว่านั้น เพื่อจัดการปัญหาที่ต้นตอ เขตยังขอความร่วมมือจากผู้เลี้ยงแมวไม่ให้ทอดทิ้งน้อง ซึ่งจะเป็นการเพิ่มจำนวนแมวจรจัดให้ชุมชน (ถ้าทิ้งแล้วโดนจับได้ ต้องจ่ายค่าปรับ 1 ล้านเยน!) ใครจะทำหมันแมวเดี๋ยวเขตช่วยออกค่าทำหมันให้ส่วนหนึ่งด้วยเลย ส่วนค่าใช้จ่ายอื่นๆ นั้นได้รับบริจาคบ้างหรือเป็นรายได้จากการขายสินค้าเพื่อหาเงินดูแลแมวบ้าง ส่วนหน้าที่ลงแรงทำความสะอาดหรือให้อาหารอย่างเป็นระบบระเบียบก็เป็นของอาสาสมัครและคนในชุมชนที่มีจิตวิญญาณความเป็นทาสแมวอ่อนๆ นั่นเอง
จริงๆ แล้วเราเขียนมาถึงตรงนี้ตั้งแต่ก่อนโตเกียวโอลิมปิกจะเริ่มต้นขึ้น สอบถามไปยังทางการตั้งแสนนานก็ไม่ได้รับคำตอบว่าตกลงชะตากรรมแมวจรจัดในช่วงโอลิมปิกจะเป็นยังไง ยิ่งมีดราม่าใหม่ๆ เกิดขึ้นทุกวันพร้อมจำนวนผู้เกี่ยวข้องที่ติดโควิด-19 มากขึ้นเรื่อยๆ ก็ทำใจไว้แล้วว่าเขาคงวุ่นกับงานหลักมากกว่าจะมาสนใจเรื่องนี้ แต่ก่อนจะส่งต้นฉบับ เราแอบกลับเข้าไปดูเว็บไซต์ของแคมเปญช่วยน้องแมวอีกครั้ง
เจ้าของแคมเปญเพิ่งมาอัพเดตว่าสุดท้ายแล้วรวมรายชื่อได้ประมาณ 12,500 คน และไปต่อรองได้สำเร็จแล้ว! แม้เขาจะยังไม่ได้เขียนรายละเอียดอะไรมากนอกจากประโยคที่ว่า ‘ทุกอย่างกำลังมุ่งหน้าไปยังทิศทางที่ดี’ แต่การที่ผู้มีอำนาจตัดสินใจให้ความสำคัญกับมวลชนกลุ่มเล็กๆ ที่รวมตัวกันช่วยเหลือสิ่งมีชีวิตตัวจ้อยบนท้องถนนทำให้ใจฟูขึ้นมานิดหน่อยในช่วงที่โอลิมปิกก็ต้องเชียร์ คลัสเตอร์เดลตาก็ต้องกลัว นี่จึงเป็นครั้งแรกที่ดีใจทั้งๆ ที่เราต้องแก้บทความใหม่
พลังความมุ่งมั่นของทาสแมวก็อยู่ในระดับเดียวกับโอลิมปิกสินะ นี่แหละ united by emotion ตรงกับ motto ของ Tokyo Olympic 2020 ที่สุดเลย #StrongerTogether ทั้งคนและแมว
Tokyo Olympic 2020 เริ่มต้นขึ้นแล้ว แม้จะมีดราม่าสารพันรายวันจนไม่น่าแปลกใจถ้าจะได้ชื่อเล่นว่าโตเกียวโอลิมปิกกับกีฬาอาถรรพ์
นอกจากดราม่าเรื่องชาวญี่ปุ่นที่ต่อต้านการจัดงาน การพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในหมู่บ้านนักกีฬาและผู้เกี่ยวข้องเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การถอนตัวหรือถูกปลดกลางอากาศของผู้รับผิดชอบหลายหน่วยงาน อาสาสมัครหลายคนยังฉีดวัคซีนไม่ครบ อาหารที่จัดให้ไม่เหมาะกับนักกีฬา ฯลฯ ยังมีผู้เดือดร้อนตัวจิ๋วอีกกลุ่มที่อยากขอความเห็นใจจากผู้จัดงาน Tokyo Olympic นั่นคือ ‘น้องแมวจรจัด’ ผู้อยู่ใกล้สถานที่จัดงานต่างๆ
เรื่องเริ่มต้นจากการที่เราเห็นเพื่อนชาวญี่ปุ่นผู้เป็นทาสแมวแชร์แคมเปญร้องเรียน Tokyo Olympic ตอนแรกนึกว่าเพื่อนเชียร์ให้ยกเลิกงาน แต่ปรากฏว่าเธอเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่อนุญาตให้อาสาสมัครเข้าไปให้อาหารแมวจรจัดได้ตามปกติในย่าน Olympic Stadium เพราะช่วงเดือนมิถุนายน-กันยายน ทางการได้จำกัดการสัญจรของพาหนะต่างๆ ในโซนนี้ รวมไปถึงห้ามคนนอกที่ไม่ได้อยู่อาศัยในย่านนี้เข้ามาป้วนเปี้ยนด้วย เธอบอกว่าเหล่าแมวๆ อยู่อาศัยแถวนั้นมาตั้งนานแล้ว และเคยชินกับการที่อาสาสมัครกลุ่มนี้เข้าไปดูแลเรื่องอาหารการกินและสุขภาพต่างๆ อยู่ๆ พี่ๆ ก็หายไป 3 เดือน แมวจะงงและหิวมาก!
กลุ่ม ‘อาสาสมัครเพื่อแมวชุมชน 42825’ ผู้ริเริ่มแคมเปญนี้รวมตัวกันมาตั้งแต่ปี 2008 และจับมือกับเขตชินจูกุช่วยกันดูแลแมวจรจัดในชุมชนมาตั้งแต่ปี 2009 มีเจ้าหน้าที่รัฐหนุนหลังแบบนี้ดูเหมือนไม่น่าจะมีปัญหา แต่ปรากฏว่าเฉพาะช่วงโอลิมปิก ย่านนั้นกลายเป็นเขตปกครองพิเศษของ Japanese Olympic Committee (JOC) ที่ทางเขตชินจูกุก็ไม่มีอำนาจไปก้าวก่าย เดอะแก๊งเลยต้องเรียกร้องผ่านอินเทอร์เน็ตแทน ระหว่างรอคนลงชื่อ เรามาดูกันว่าปกติที่โตเกียวเขาจัดการกับปัญหาแมวจรจัดกันยังไงบ้าง

AUTHOR